การ live นั้นมีอะไรต้องคำนึงบ้าง

ประสบการณ์ iHearBand ที่ live สู่คุณผู้ชมมากว่า 30 ครั้งในช่วงสองเดือน

การไลฟ์ลงเพจ chula marketplace

iHearBand มีประสบการทำ live สู่คุณผู้ชมในช่วงเดือน มีค-พค นี้ประมาณ 30 ครั้ง จึงขอแชร์ประสบการณ์สำหรับ Virtual Concert สู่งาน event ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน หรืองานบริษัทครับ สำหรับสิ่งที่พวกเราได้ศึกษามาจะแชร์ในบล็อกนี้

อย่าใช้ Zoom ไลฟ์ การแสดงดนตรี

ข้อสังเกตจาก Market place ต่างๆเวลาให้ศิลปินมา live นิยมผ่านโปรแกรม conference ก่อนแล้วจึงดึงภาพมา facebook เนื่องจากต้องการ control การ live รวมถึงไม่สะดวกที่จะให้ password ของตลาดให้วงดนตรีเข้าถึงหลังบ้านได้ ส่งผลให้คุณภาพภาพและเสียงไม่ดี

ซึ่งในความเป็นจริงไม่ควรใช้ Zoom หรือโปรแกรม Conference ที่ใช้สื่อสารสองทางอื่นๆในการ live ดนตรีแล้วดึงภาพมาออก facebook เนื่องจากคุณภาพเสียงที่ไม่ดี และสาเหตที่คุณภาพไม่ดีนั้นเป็นเพราะโปรแกรมถูกออกแบบให้ใช้สื่อสารสองทาง โต้ตอบได้ในเวลาที่ไม่ดีเลย์มากทำให้พูดคุยกันรู้เรื่อง โปรแกรมจึงเลือกบีบอัดข้อมูลทั้งภาพและเสียงให้มากที่สุดโดยเน้นที่เสียงพูดเท่านั้นเพื่อความรวดเร็วในการ convert ที่ปลายทาง นอกจากนี้ยังตัดเสียงรบกวนอย่างเข้มงวดเพื่อไม่ให้เกิดการหอนของไมค์และลำโพงส่งผลให้เสียงดนตรีถูกตัดทอนออกไปด้วยเวลามีเสียงร้องเพลงขึ้นมา

การ live ผ่าน YouTube และ Facebook โดยตรงนั้นให้คุณภาพที่ดีกว่าเนื่องจากไม่ต้องแคร์เรื่องการสื่อสารสองทาง, ทั้งสอง platform มี latency หรือดีเลย์ระหว่างเหตการณ์จริงและเหตการณ์ที่ออกจอประมาณ 4-15 วินาทีขึ้นกับสถานการณ์ต่างๆและจำนวนคนดู

งาน private party แบบ distancing

การเล่นดนตรีสดนั้น สิ่งที่แตกต่างจากการที่เราดูไลฟ์จาก device ต่างๆของเราที่สำคัญที่สุดมีสองอย่างคือ 1. ประสบการณ์ทางการดูและคุณภาพเสียง คนส่วนใหญ่ดูจากจอเล็กๆลำโพงเล็ก และ 2. การปฎิสัมพันธ์ระหว่างนักดนตรี และผู้ชมดนตรี ทางวงจึงมี package ที่ตอบสนองผู้ชมที่ต้องการ distancing อย่างหลายระดับ

ด้านประสบการณ์การดู ทางวงพยายามทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนมีวงดนตรีอยู่ข้างหน้าตัวเองจริงๆให้มากที่สุด จึงเลือกใช้ระบบ projector จอยักษ์ไปติดตั้งที่บ้านลูกค้าเพื่อให้ภาพนักดตรีมีขนาดสมจริงที่สุด เหมือนอยู่ด้านหน้าของเราจริงๆ และไปติดตั้งลำโพง. PA มาตรฐานแบบเดียวกับการแสดงสดที่งานหรือบ้านของลูกค้าจริงๆ

ใช้กล้องสำหรับถ่ายทอดเพื่อความสมูทของภาพมากกว่า DSLR ปกติ
โปรแกรมสำหรับ live

การทำ live มีส่วนสำคัญที่ต้องนึกถึงสามส่วนได้แก่

  1. คอนเท้นท์น่าสนใจหรือไม่ อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คอนเท้นท์ที่มีคาร์แรคเตอร์ มีความคาดหวังได้ ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ไลฟ์ที่เบสิคขนาดไหน (เช่นมือถือเครื่องเดียว) ก็จะน่าสนใจได้
  2. คุณภาพของสื่อ เช่นการ live การแสดงดนตรีหรืองานศิลปะ ต้องมีภาพที่สวย ดูง่าย แสงดี จัดองค์ประกอบดี นั่นคือต้องมีคนถ่ายทอดที่ดี และมีอุปกรณ์ที่ได้ standard การถ่ายทอดทั่วไป ระบบเสียงต้องมีคนช่วยดูและผสมเสียงให้ และต้องเป็นคนที่มีความเข้าใจเรื่อง headroom ของการไลฟ์เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นงานที่ยากกว่างานแสดงสดทั่วไปอยู่
  3. โปรแกรมที่ใช้ live และคุณภาพ internet ผู้ที่มาควบคุมต้องมีความเชี่ยวชาญในการทำ live และ internet ต้องเสถึยร เร็วที่สุดที่ทำได้ และไม่แชร์เน็ตกับผู้อื่นในสภาพแวดล้อมนั้นๆ

สำหรับท่านที่อยากดูเบื้องหลังการ live แสดงดนตรีทั้ง chula marketplace และ ธรรมศาสตร์และการฝากร้าน สามารถดูได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?vanity=ipattt&set=a.10157852091047862

พัชร เกิดศิริ มือคีย์บอร์ดผู้ร่วมก่อตั้ง iHearBand ความพิเศษตรงเล่นเบสไปพร้อมเสียงอื่นๆได้ทำให้เพลงแน่นโดยใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้น ติดต่อวงไอเฮียร์โทร 0868965900 พัชร